26 มิ.ย. 2567 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับ อาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ ประจำปี 2567
วันที่ 26 มิถุนายน 2567 นายอนรรฆ ชนาธินาถพงศ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ กล่าวรายงานต่อนายบุญธรรม เกี้ยวฝั้น ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 ประธานในพิธีเปิดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับ อาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ ประจำปี 2567 ณ หอประชุมวิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศชาติ ประกอบกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น สำนักงานอาชีวศึกษาแพร่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2567 ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ ขึ้นในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสดุดี ในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าหัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
2. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษาเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา มีส่วนร่วม และแสดงออกซึ่งความรู้และความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล
4. เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักเรียน นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ เข้าประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับภาค และ ระดับชาติต่อไป
สำหรับการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ประจำปี 2567 ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่ มี 2 ระดับ ดังนี้
1. การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับ ปวช. จำนวน 5 โครงงาน ประกอบด้วย
1.1 การศึกษาสีย้อมจากใบแก้ว กาสะลอง บนผ้าฝ้าย โดยใช้สารช่วยย้อมจากธรรมชาติ
1.2 การศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะระหว่างปริมาณจิ้งหรีดกับน้าพริกเผาจากระดับความพึ่งพอใจของผู้บริโภค
1.3 การศึกษาอัตราส่วนผสมของวัสดุเพาะต้นกล้าพริกทดแทนการใช้พีทมอส
1.4 การศึกษากระบวนการผลิตชาใบผักปลัง
1.5 การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องกำจัดสนิมระบบอิเลกโตไลต์
2.การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับ ปวส. จำนวน 4 โครงงาน ประกอบด้วย
2.1 การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของพริกลาบเมืองแพร่
2.2 ศึกษาอัตราส่วนสารช่วยติดสีของ สีย้อมจากใบสัก
2.3 การผลิตและศึกษาคุณสมบัติของน้ำพริกปลาร้าของฟรีซดราย
2.4 การศึกษาประสิทธิภาพของจีโอโพลิเมอร์จากขี้เถ้าเหลือใช้ต่อการผลิตวัสดุตกแต่ง
Link รูปภาพ : https://photos.app.goo.gl/Cib5DtSCeMbgWUsT7